วันพุธที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2550

ทฤษฎีการเสริมแรง


สนองที่ต้องการ เช่น คะแนนดี เสริมแรงให้นักศึกษาขยันเรียนมากขึ้น คำชมทำให้เด็กพูดจาไพเราะขึ้น เป็นต้นตัวเสริมแรงมี 2 ประเภทคือ
1. ตัวเสริมแรงปฐมภูมิ ( A primary reinforcer ) ส่วนใหญ่จะเป็นสิ่งที่ตอบสนองต่อการทำงานและความต้องการทางด้านร่างกายโดยพื้นฐาน เช่น อาหารสำหรับคนกำลังหิว ความอบอุ่นสำหรับคนที่กำลังหนาว เป็นต้น
2. ตัวเสริมแรงระดับทุติยภูมิ ( A secondary reinforcer ) จะเป็นตัวเสริมแรงที่เกิดจากการที่ไปเชื่อมโยงกับตัวเสริมแรงปฐมภูมิทำให้สิ่งนั้นสามารถสนองความต้องการต่าง ๆ ของคนเราได้เช่นเดียวกันกับตัวเสริมแรงปฐมภูมิ ตัวเสริมแรงทุติยภูมิ เช่น เงินซึ่งมีค่าเพราะสามารถนำไปใช้แลกเปลี่ยนกับสิ่งต่างๆ ที่สามารถนำมาสนองความต้องการของคนเราได้อย่างมากมาย การเสริมแรง (Reinforcement)
การเสริมแรงเป็นสภาวะการณ์ที่มีการให้ตัวเสริมแรงในการกระทำพฤติกรรมของอินทรีย์ โดยการ เสริมแรงจะแบ่งออกตามลักษณะของการวางเงื่อนไขได้เป็น 2 ประเภท คือ
1. การเสริมแรงทางบวก (Positive Reinforcement) เป็นการให้สิ่งที่จะช่วยเพิ่มแนวโน้มของการตอบสนอง และมักจะเป็นการให้สิ่งดีๆ เช่น ของขวัญ เงิน อาหาร เป็นต้น
2. การเสริมแรงทางลบ (Negative Reinforcement) เป็นการนำสิ่งที่ไม่พอใจ ไม่ชอบออกไปหรือเป็นการปรับสภาวะจากลบ (Negative) ไปเป็นกลาง ( Neutral ) แล้วเพิ่มแนวโน้มของการตอบสนองที่ต้องการ (Carver and Scheier ,1996:341) เช่น นำความร้อนออกไปโดยการติดเครื่องปรับอากาศในฤดูร้อน ทำให้พนักงานพอใจกับสภาพแวดล้อมการทำงานมากขึ้น เป็นต้น การลงโทษ
การลงโทษ (Punishment) เป็นการให้สิ่งที่ไม่พอใจ หรือเป็นการเปลี่ยนสภาพปกติ (Neutral ) ให้เป็นสภาวะที่เป็นลบ (Negative) เช่น การดุด่า การตี เป็นต้น หรืออีกลักษณะจะเป็นการนำสิ่งที่ชอบ (positive) ออกไปหรือทำให้กลับคืนสู่ปกติ (Neutral) เช่น การงดให้โบนัส การงดให้รางวัล เป็นต้น การลงโทษอาจช่วยระงับยับยั้งพฤติกรรมที่เป็นไปทางลบได้ในระยะสั้นๆ เช่น การดุด่าเด็กเมื่อเด็กเล่นรุนแรง ทำให้เด็กเลิกเล่นรุนแรงไปได้ชั่วครู่ แล้วไม่นานนักเด็กก็จะกลับมาเล่นรุนแรงอีก นอกจากนี้การลงโทษยังก่อให้เกิดความรู้สึกทางลบให้แก่เด็ก ซึ่งจะสะสมและอาจแสดงออกมาเป็นพฤติกรรมทางลบในลักษณะต่างๆ ได้ เช่น เด็กที่ถูกพ่อแม่ลงโทษด้วยการตีบ่อยๆ อาจจะไปแสดงความก้าวร้าวกับเพื่อนหรือชอบรังแกสัตว์อย่างนี้ เป็นต้น ดังนั้นในการปรับพฤติกรรมของเด็กจึงไม่ควรใช้การลงโทษแต่ควรนำการเสริมแรงมาใช้ซึ่งจะให้ผลดีกว่า การให้สิ่งเสริมแรง
การให้สิ่งเสริมแรงจะทำให้มีประสิทธิภาพสูงสุดในการปรับพฤติกรรมต่อเมื่อมีการกระทำได้อย่างเหมาะสม โดยหลักการให้สิ่งเสริมแรงมีดังต่อไปนี้
1. ในระยะแรกๆที่มุ่งให้อินทรีย์เกิดการเรียนรู้ ควรให้สิ่งเสริมแรงแก่อินทรีย์ทุกครั้งเมื่ออินทรีย์กระทำพฤติกรรมที่ต้องการ เช่น ถ้าเริ่มสอนให้เด็กรู้จักการไหว้ผู้ใหญ่เราควรให้รางวัลเด็กทุกครั้งในระยะแรกที่เขาไหว้ผู้ใหญ่ จนกว่าเด็กจะเกิดการเรียนรู้ว่าเขาควรจะไหว้ใครบ้างและต้องไหว้อย่างไร เราจึงอาจเปลี่ยนการให้รางวัลเป็นแบบไม่ทุกครั้งหรือในรูปแบบอื่นๆได้
2. การให้สิ่งเสริมแรงต้องให้ทันทีที่อินทรีย์กระทำพฤติกรรมที่ต้องการ อย่าทิ้งให้เวลาเนิ่นนานเกิน ไปกว่าจะให้รางวัล เพราะอินทรีย์จะไม่สามารถเชื่อมโยงระหว่างพฤติกรรมที่แสดงออกกับรางวัลที่ได้รับและอินทรีย์จะไม่เกิดการเรียนรู้
3. การให้สิ่งเสริมแรงต้องพิจารณาแล้วว่า สิ่งนั้นเป็นที่ปรารถนาของอินทรีย์ สิ่งนั้นจึงทำหน้าที่เป็นตัวเสริมแรงอย่างได้ผล ในกรณีนี้ถ้าเป็นการให้การเสริมแรงแก่คน ให้พิจารณาด้วยว่าคนๆ นั้นชอบอะไรซึ่งความชอบของแต่ละบุคคลอาจมีแตกต่างกันไป เช่น บางคนอาจต้องการเงินเป็นรางวัล แต่บางคนมีเงินมากมายแล้วอาจต้องการชื่อเสียงหรือการได้รับการยกย่องเป็นรางวัลมากกว่า เป็นต้น
4. หลังจากอินทรีย์เกิดการเรียนรู้แล้ว การให้สิ่งเสริมแรงเพื่อให้พฤติกรรมนั้นมีอยู่สม่ำเสมอและอยู่นานที่สุดควรเป็นการให้สิ่งเสริมแรงไม่ทุกครั้งหรือเว้นระยะแบบจำนวนการตอบสนองไม่คงที่ (Variable ratio) หรือแบบช่วงเวลาไม่แน่นอน (Variable interval)มากกว่าแบบจำนวนการตอบสนองคงที่ (Fixed ratio) หรือแบบช่วงเวลาแน่นอน ( Fixed interval ) ซึ่งแบบต่างๆ ของการเสริมแรงเว้นระยะนี้มีอยู่ 2 แบบใหญ่ๆ ดังนี้แบบที่ 1 เป็นการให้สิ่งเสริมแรงตามจำนวนครั้งที่ตอบสนอง เรียกว่า "a ratio schedule" ซึ่งแบ่งออกไปอีก 2 แบบย่อย คือ
Fixed Ratio อินทรีย์จะได้สิ่งเสริมแรงตามจำนวนการตอบสนองที่ได้กำหนดไว้แล้วแน่นอน เช่น ได้รับรางวัลทุกๆการตอบสนองครั้งที่5 เป็นต้น ในการให้ตัวเสริมแรงแบบนี้พบว่าอินทรีย์มี การตอบสนองในอัตราสูงมากในระยะแรกๆ โดยจะมีการหยุดพักช่วงเป็นระยะเวลาสั้นๆ หลังจาก ได้รับสิ่งเสริมแรง และอัตราการตอบสนองจะลดลงในเวลาอันรวดเร็ว
Variable ratio มีลักษณะคล้ายกับแบบที่ 1.1 ตรงที่ใช้จำนวนการตอบสนองเป็นเกณฑ์แต่ต่าง กันตรงที่แบบที่ 1.2 จะไม่กำหนดจำนวนการตอบสนองไว้อย่างแน่นอนตามแบบที่ 1.1 แต่จะ เป็นการกำหนดจำนวนการตอบสนองที่เปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ เช่น บางครั้งอินทรีย์จะได้รับ รางวัลเมื่อตอบสนองครบ 10 ครั้ง บางครั้งการตอบสนองเพียง 7 ครั้งก็ได้รางวัล หรือบางครั้งอินทรีย์ ต้องตอบสนองถึง 12 ครั้งถึงจะได้รับรางวัลอย่างนี้เป็นต้น สำหรับแบบที่ 2 จะทำให้อินทรีย์มี อัตราการตอบสนองสูงที่สุดและนานที่สุด เช่น เราอาจจะเห็นได้จากการเล่นการพนันซึ่งช่วงเวลาของ การได้รับชัยชนะหรือรางวัลนั้นจะไม่แน่นอนแต่ก็มีอยู่ในลักษณะที่ทำให้คนต้องเล่นต่อไปนานๆแบบที่ 2 เป็นการให้สิ่งเสริมแรงตามเวลาที่กำหนด เรียกว่า "an interval Schedule" ซึ่งจะกำหนด ให้ช้าหรือเร็วก็ได้ แบ่งออกเป็น 2 แบบย่อย คือ
2.1 Fixed interval จะให้สิ่งเสริมแรงเมื่อถึงเวลาที่กำหนดไว้อย่างแน่นอน เช่น 2 นาทีให้อาหารหนึ่งเม็ดโดยไม่คำนึงว่าระหว่างช่วงเวลานี้หนูจะกดคานหรือไม่ วิธีการนี้จะทำให้การกดคานของหนูหลังการได้รับสิ่งเสริมแรงนั้นลดลงอย่างมากหรือบางทีก็ไม่มีการตอบสนองเลย แต่การตอบสนองจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เมื่อใกล้ถึงเวลาที่จะได้รางวัลในช่วงต่อไป ทั้งนี้เพราะหนูเรียนรู้การจำแนกเวลาการให้รางวัลได้นั่นเอง การให้รางวัลลักษณะนี้ในพฤติกรรมของมนุษย์เราสามารถพบเห็นได้ทั่วไป เช่น ข้าราชการบางคนพอถึงใกล้ช่วงการพิจารณาความดีความชอบก็จะแสดงพฤติกรรมการทำงานเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด แต่หลังจากได้ผ่านการพิจารณาความดีความชอบแล้วก็กลับมาใช้พฤติกรรมทำงานเรื่อยๆ เฉื่อยๆแบบเดิม เป็นต้น
2.2 Variable interval มีลักษณะคล้ายแบบ Fixed interval เพียงแต่ต่างกันตรงที่ระยะเวลาที่จะได้รับรางวัลของแบบนี้เป็นไปอย่างไม่แน่นอน ตัวอย่างเช่น ครั้งแรกให้เมื่อถึงวินาทีที่ 45 ครั้งที่สองให้เมื่อถึงวินาทีที่ 90 ครั้งที่สามให้เมื่อถึงวินาทีที่ 150 ฯลฯ อย่างนี้เป็นต้น การตอบสนองต่อการเสริมแรงวิธีการนี้จะมีไม่สูงนัก แต่สม่ำเสมอและจะเพิ่มขึ้นถ้าอัตราการให้สิ่งเสริมแรงมีถี่ขึ้น ลักษณะการให้สิ่งเสริมแรงแบบนี้ในชีวิตประจำวัน เช่น การหมุนโทรศัพท์ขณะชั่วโมงธุรกิจ ซึ่งบางครั้งก็ไม่สามารถติดต่อได้ บางครั้งก็ติดต่อได้ไม่มีช่วงเวลาที่แน่นอน ในการนี้สิ่งเสริมแรง คือ การหมุนโทรศัพท์แล้วติดต่อได้นั่นเอง

ภาพที่ 44 แสดงความถี่และความยาวนานของการแสดงพฤติกรรมที่ต้องการในการเสริมแรงแบบต่างๆจะ เห็นว่า แบบ Variable ratio จะมีการตอบสนองที่มีความถี่สูงสุดและแบบ Variable interval จะทำ ให้อินทรีย์แสดงพฤติกรรมตอบสนองยาวนานมากที่สุด (ที่มา : Carver and Scheier,1996:345 )
จากทั้งหมดจะเห็นได้ว่า การให้สิ่งเสริมแรงในรูปแบบที่แตกต่างกันจะนำไปสู่แนวโน้มการกระทำพฤติกรรมที่ต่างกันด้วย โดยการเสริมแรงแบบไม่สม่ำเสมอและทำนายไม่ได้ให้ผลต่อการเปลี่ยนพฤติกรรมมากกว่าแบบสม่ำเสมอและทำนายได้

ทฤษฎีการเรียนรู้ของ ~Kohler


Wolfgang Kohler (1886 - 1941) นักจิตวิทยาชาวเยอรมันได้ทำการตรวจสอบการเรียนรู้การแก้ปัญหาของลิงซิมแปนซีโดยการนำลิงใส่ไว้ในกรงที่มีกล่องไม้ 2 กล่องวางอยู่บนพื้นกรงและมีกล้วยผูกด้วยเชือกแขวนอยู่ด้านบนของกรงในระยะที่ลิงไม่อาจเอื้อมถึงได้ เมื่อลิงเข้าไปอยู่ในกรงแล้วลิงพยายามทำอยู่หลายวิธีการ เช่น กระโดด ปีนกรง ยืนบนกล่องไม้กล่องเดียวแล้วเอื้อมมือเพื่อจะเอากล้วยมากินให้ได้แต่ก็ไม่สำเร็จและใน ที่สุดลิงก็หยุดมองกล่องไม้ 2 กล่อง มองกล้วยแล้วก็เอากล่อง 2 กล่องมาวางซ้อนกันแล้วปีนขึ้นไปบนกล่องไม้เอื้อมมือไปหยิบกล้วยมากินได้

ภาพที่ 46 การทดลองของ Kohler (ที่มา: Worchel and Shebilske,1989 ) จากการทดลองของโคเลอร์นี้เขาอธิบายว่า
1. การเรียนรู้โดยการแก้ปัญหาต่างๆ นั้นไม่ใช่เป็นไปอย่างไม่มีแบบแผนหรือเป็นการบังเอิญจากการลองผิดลองถูก แต่การแก้ปัญหาที่แท้จริงเกิดจากการใช้การหยั่งเห็นความสัมพันธ์กันของสิ่งต่างๆมากกว่า โดยในการทดลองนี้ลิงสามารถแก้ปัญหาได้ด้วยการมองเห็นความสัมพันธ์ของกล่องไม้ 2 กล่องและกล้วยจนสามารถนำกล่องมาต่อกันเพื่อเอากล้วยมากิน
2. การหยั่งเห็น (Insight) คือ การที่อินทรีย์มองเห็นความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆที่มีอยู่ และมองเห็นช่องทางในการแก้ปัญหาอย่างชัดเจนได้อย่างทันทีทันใดแล้วก่อนที่จะลงมือกระทำ ดังนั้นการนำกล่องมาซ้อนกันเพื่อปีนไปเอากล้วยของลิง จึงเป็นพฤติกรรมที่สามารถทำได้อย่างรวดเร็วหลังจากลิงนั่งคิดแก้ปัญหาได้แล้ว
3. จากการที่ลิงคิดแก้ปัญหาได้โดยการรับรู้สิ่งเร้าที่มีอยู่ทั้งหมด แล้วนำมาหาความสัมพันธ์กัน แสดงให้เห็นว่าการพิจารณาสิ่งเร้าเป็นส่วนรวมนั้นจะช่วยนำไปสู่การหยั่งเห็น การรับรู้สิ่งเร้าต่างๆของอินทรีย์ จึงเป็นไปในลักษณะส่วนรวมมากกว่าการรับรู้เป็นส่วนย่อย และจากการทำการทดลองลักษณะนี้ซ้ำอีกโดยลิงซิมแปนซีตัวอื่นๆ พบว่า บางตัวไม่สามารถแก้ปัญหาอย่างที่ลิงของโคเลอร์ทำได้ จึงอาจสรุปได้ว่า ปัจจัยที่ทำให้เกิดการ Insight นั้นมีมากกว่าสิ่งที่มองเห็น ปัจจัยที่ได้รับการกล่าวถึงกันมากคือ ประสบการณ์เดิมและความสามารถทางสมองของลิงแต่ละตัวที่มีแตกต่างกัน (Feldman ,1992:203) และจากการติดตามผลต่อเนื่องยังพบว่า ลิงสามารถนำวิธีการแก้ปัญหาที่ประสบความสำเร็จแล้วในครั้งนี้ไปดัดแปลงใช้ในการแก้ปัญหาในสถานการณ์ใหม่ที่คล้ายคลึงกันได้อีกด้วย

ทฤษฎีการเรียนรู้ของ bandura




การเรียนรู้พฤติกรรมจากตัวแบบ ทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคมเชิงพุทธิปัญญา ทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคมเชิงพุทธิปัญญา (Social Cognitive Learning Theory) ซึ่งเป็นทฤษฎีของศาสตราจารย์บันดูรา แห่งมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด (Stanford) ประเทศสหรัฐอเมริกา บันดูรามีความเชื่อว่าการเรียนรู้ของมนุษย์ส่วนมากเป็นการเรียนรู้โดยการสังเกตหรือการเลียนแบบ (Bandura 1963) จึงเรียกการเรียนรู้จากการสังเกตว่า “การเรียนรู้โดยการสังเกต” หรือ “การเลียนแบบ” และเนื่องจากมนุษย์มีปฏิสัมพันธ์ (Interact) กับสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบ ๆ ตัวอยู่เสมอ บันดูราอธิบายว่าการเรียนรู้เกิดจากปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนและสิ่งแวดล้อมในสังคม ซึ่งทั้งผู้เรียนและสิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลต่อกันและกัน บันดูรา (1969, 1971) จึงเปลี่ยนชื่อทฤษฎีการเรียนรู้ของท่านว่า การเรียนรู้ทางสังคม (Social Learning Theory) แต่ต่อมาได้เปลี่ยนเป็น การเรียนรู้ทางสังคมเชิงพุทธิปัญญา (Social Cognitive Learning Theory) อีกครั้งหนึ่ง ทั้งนี้ เนื่องจากบันดูราพบจากการทดลองว่า สาเหตุที่สำคัญอย่างหนึ่งในการเรียนรู้ด้วยการสังเกต คือ ผู้เรียนจะต้องเลือกสังเกตสิ่งที่ต้องการเรียนรู้โดยเฉพาะ และสิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่งก็คือ ผู้เรียนจะต้องมีการเข้ารหัส (Encoding) ในความทรงจำระยะยาวได้อย่างถูกต้อง นอกจากนี้ ผู้เรียนต้องสามารถที่จะประเมินได้ว่าตนเลียนแบบได้ดีหรือไม่ดีอย่างไร และจะต้องควบคุมพฤติกรรมของตนเองได้ด้วย (metacognitive) บันดูรา Bandura, 1986 จึงสรุปว่า การเรียนรู้โดยการสังเกตจึงเป็นกระบวนการทางการรู้คิดหรือพุทธิปัญญา (Cognitive Processes) การเรียนรู้โดยการสังเกตหรือการเลียนแบบ (Observational Learning หรือ Modeling)บันดูรา (Bandura) มีความเห็นว่าทั้งสิ่งแวดล้อม และตัวผู้เรียนมีความสำคัญเท่า ๆ กัน บันดูรากล่าวว่า คนเรามีปฏิสัมพันธ์ (Interact) กับสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบๆ ตัวเราอยู่เสมอการเรียนรู้เกิดจาก ปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนและสิ่งแวดล้อม ซึ่งทั้งผู้เรียนและสิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลต่อกันและกัน พฤติกรรมของคนเราส่วนมากจะเป็นการเรียนรู้โดยการสังเกต (Observational Learning) หรือการเลียนแบบจากตัวแบบ (Modeling) สำหรับตัวแบบไม่จำเป็นต้องเป็นตัวแบบที่มีชีวิตเท่านั้น แต่อาจจะเป็นตัวสัญลักษณ์ เช่น ตัวแบบที่เห็นในโทรทัศน์ หรือภาพยนตร์หรืออาจจะเป็นรูปภาพการ์ตูนหนังสือก็ได้ นอกจากนี้ คำบอกเล่าด้วยคำพูดหรือข้อมูลที่เขียนเป็นลายลักษณ์อักษรก็เป็นตัวแบบได้ การเรียนรู้โดยการสังเกตไม่ใช่การลอกแบบจากสิ่งที่สังเกตโดยผู้เรียนไม่คิด คุณสมบัติของผู้เรียนมีความสำคัญ เช่น ผู้เรียนจะต้องมีความสามารถที่จะรับรู้สิ่งเร้า และสามารถสร้างรหัสหรือกำหนดสัญลักษณ์ของสิ่งที่สังเกตเก็บไว้ในความจำระยะยาว และสามารถเรียกใช้ในขณะที่ผู้สังเกตต้องการแสดงพฤติกรรมเหมือนตัวแบบ บันดูราได้เริ่มทำการวิจัยเกี่ยวกับการเรียนรู้โดยการสังเกต หรือการเลียนแบบ ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1960 เป็นต้นมา ได้ทำการวิจัยเป็นโครงการระยะยาว และได้ทำการพิสูจน์สมมติฐานที่ตั้งไว้ทีละอย่าง โดยใช้กลุ่มทดลองและควบคุมอย่างละเอียด และเป็นขั้นตอน ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างของการวิจัยที่บันดูราและผู้ร่วมงานเกี่ยวกับการเรียนรู้โดยการสังเกตผลการวิจัยที่ได้รับความสนใจจากนักจิตวิทยาเป็นอันมาก และมีผู้นำไปทำงานวิจัยโดยใช้สถานการณ์แตกต่างไป ผลที่ไดรับสนับสนุนข้อสรุปของศาสตราจารย์บันดูราเกี่ยวกับการเรี่ยนรู้โดยการสังเกต การทดลองอันแรกโดย บันดูรา ร็อส และร็อส (Bandural, Ross&Roos, 1961) เป็นการแสดงพฤติกรรมก้าวร้าวโดยการสังเกต บันดูราและผู้ร่วมงานได้แบ่งเด็กออกเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มหนึ่งให้เห็นตัวอย่างจากตัวแบบที่มีชีวิต แสดงพฤติกรรมก้าวร้าว เด็กกลุ่มที่สองมีตัวแบบที่ไม่แสดงพฤติกรรมก้าวร้าว และเด็กกลุ่มที่สามไม่มีตัวแบบแสดงพฤติกรรมให้ดูเป็นตัวอย่าง ในกลุ่มมีตัวแบบแสดงพฤติกรรมก้าวร้าว การทดลองเริ่มด้วยเด็กและตัวแบบเล่นตุ๊กตา (Tinker Toys) สักครู่หนึ่งประมาณ 1 – 10 นาที ตัวแบบลุกขึ้นต่อย เตะ ทุบ ตุ๊กตาที่ทำด้วยยางแล้วเป่าลม ฉะนั้นตุ๊กตาจึงทนการเตะต่อยหรือแม้ว่าจะนั่งทับหรือยืนก็ไม่แตก สำหรับเด็กกลุ่มที่สอง เด็กเล่นตุ๊กตาใกล้ ๆ กับตัวแบบ แต่ตัวแบบไม่แสดงพฤติกรรมก้าวร้าวให้ดูเป็นตัวอย่าง เด็กกลุ่มที่สามเล่นตุ๊กตาโดยไม่มีตัวแบบ หลังจากเล่นตุ๊กตาแล้วแม้ผู้ทดลองพาเด็กไปดูห้องที่มีตุ๊กตาที่น่าเล่นมากกว่า แต่บอกว่าห้ามจับตุ๊กตา เพื่อจะให้เด็กรู้สึกคับข้องใจ เสร็จแล้วนำเด็กไปอีกห้องหนึ่งทีละคน ซึ่งมีตุ๊กตาหลายชนิดวางอยู่และมีตุ๊กตายางที่เหมือนกับตุ๊กตาที่ตัวแบบเตะต่อยและทุบรวมอยู่ด้วย ผลการทดลองพบว่า เด็กที่อยู่ในกลุ่มที่มีตัวแบบแสดงพฤติกรรมก้าวร้าวจะแสดงพฤติกรรมก้าวร้าว เตะต่อยทุบ รวมทั้งนั่งทับตุ๊กตายางเหมือนกับที่สังเกตจากตัวแบบแสดงและค่าเฉลี่ย (Mean) ของพฤติกรรมก้าวร้าวที่แสดงโดยเด็กกลุ่มนี้ทั้งหมดสูงกว่าค่าเฉลี่ยของพฤติกรรมก้าวร้าวของเด็กกลุ่มที่สองและกลุ่มที่สามการทดลองที่สองก็เป็นการทดลองของบันดูรา ร็อส และ ร็อส (1963) วิธีการทดลองเหมือนกับการทดลองที่หนึ่งแต่ใช้ภาพยนตร์แทนของจริง โดยกลุ่มหนึ่งดูภาพยนตร์ที่ตัวแบบ แสดงพฤติกรรมก้าวร้าว อีกกลุ่มหนึ่งดูภาพยนตร์ที่ตัวแบบไม่แสดงพฤติกรรมก้าวร้าว ผลของการทดลองที่ได้เหมือนกับการทดลองที่หนึ่ง คือ เด็กที่ดูภาพยนตร์ที่มีตัวแบบแสดงพฤติกรรมก้าวร้าว จะแสดงพฤติกรรมก้าวร้าวมากกว่าเด็กที่อยู่ในกลุ่มที่ดูภาพยนตร์ที่ตัวแบบไม่แสดงพฤติกรรมที่ก้าวร้าว บันดูรา และเม็นลอฟ (Bandural & Menlove, 1968) ได้ศึกษาเกี่ยวกับเด็ก ซึ่งมีความกลัวสัตว์เลี้ยง เช่น สุนัข จนกระทั่งพยายามหลีกเลี่ยงหรือไม่มีปฏิสัมพันธ์กับสัตว์เลี้ยง บันดูราและเม็นลอฟได้ให้เด็กกลุ่มหนึ่งที่มีความกลัวสุนัขได้สังเกตตัวแบบที่ไม่กลัวสุนัข และสามารถจะเล่นกับสุนัขได้อย่างสนุก โดยเริ่มจากการค่อย ๆ ให้ตัวแบบเล่น แตะ และพูดกับสุนัขที่อยู่ในกรงจนกระทั่งในที่สุดตัวแบบเข้าไปอยู่ในกรงสุนัข ผลของการทดลองปรากฏว่าหลังจากสังเกตตัวแบบที่ไม่กลัวสุนัข เด็กจะกล้าเล่นกับสุนัขโดยไม่กลัว หรือพฤติกรรมของเด็กที่กล้าที่จะเล่นกับสุนัขเพิ่มขึ้นและพฤติกรรมที่แสดงว่ากลัวสุนัขจะลดน้อยไป การทดลองของบันดูราที่เกี่ยวกับการเรียนรู้โดยการสังเกตหรือเลียนแบบมีผู้นำไปทำซ้ำ ปรากฏผลการทดลองเหมือนกับบันดูราได้รับ นอกจากนี้มีนักจิตวิทยาหลายท่านได้ใช้แบบการเรียนรู้ โดยวิธีการสังเกตในการเรียนการสอนวิชาต่าง ๆ

ปัจจัยที่สำคัญในการเรียนรู้โดยการสังเกต

1. ผู้เรียนจะต้องมีความใส่ใจ (Attention) ที่จะสังเกตตัวแบบ ไม่ว่าเป็นการแสดงโดยตัวแบบจริงหรือตัวแบบสัญลักษณ์ ถ้าเป็นการอธิบายด้วยคำพูดผู้เรียนก็ต้องตั้งใจฟังและถ้าจะต้องอ่านคำอธิบายก็จะต้องมีความตั้งใจที่จะอ่าน

2. ผู้เรียนจะต้องเข้ารหัสหรือบันทึกสิ่งที่สังเกตหรือสิ่งที่รับรู้ไว้ในความจำระยะยาว

3. ผู้เรียนจะต้องมีโอกาสแสดงพฤติกรรมเหมือนตัวแบบ และควรจะทำซ้ำเพื่อจะให้จำได้

4. ผู้เรียนจะต้องรู้จักประเมินพฤติกรรมของตนเองโดยใช้เกณฑ์ (Criteria) ที่ตั้งขึ้นด้วยตนเองหรือโดยบุคคลอื่น

สรุป การเรียนรู้พฤติกรรมสำคัญต่าง ๆ ทั้งที่เสริมสร้างสังคม (Prosocial Behavior) และพฤติกรรมที่เป็นภัยต่อสังคม (Antisocial Behavior) ได้เน้นความสำคัญของการเรียนรู้แบบการสังเกตหรือเลียนแบบจากตัวแบบ ซึ่งอาจจะเป็นได้ทั้งตัวบุคคลจริง ๆ เช่น ครู เพื่อน หรือจากภาพยนตร์โทรทัศน์ การ์ตูน หรือจากการอ่านจากหนังสือได้ การเรียนรู้โดยการสังเกตประกอบด้วย 2 ขั้น คือ ขั้นการรับมาซึ่งการเรียนรู้เป็นกระบวนการทางพุทธิปัญญา และขั้นการกระทำ ตัวแบบที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของบุคคลมีทั้งตัวแบบในชีวิตจริงและตัวแบบที่เป็นสัญญลักษณ์ เพราะฉะนั้นพฤติกรรมของผู้ใหญ่ในครอบครัว โรงเรียน สถาบันการศึกษา และผู้นำในสังคมประเทศชาติและศิลปิน ดารา บุคคลสาธารณะ ยิ่งต้องตระหนักในการแสดงพฤติกรรมต่าง ๆ เพราะย่อมมีผลต่อพฤติกรรมของเยาวชนในสังคมนั้น ๆ

เด็กพิเศษ


เด็กพิเศษ เริ่มได้รับความสนใจ และการดูแลช่วยเหลืออย่างจริงจัง มาเมื่อไม่นานนี้ ทั้งๆ ที่เด็กกลุ่มนี้มีมานานแล้ว เมื่อกล่าวถึงเด็กพิเศษ แต่ละคนก็มักมีความเข้าใจที่แตกต่างกันไป บางคนนึกถึงเด็กที่มีความสามารถพิเศษ บางคนนึกถึงเด็กที่มีความบกพร่อง เด็กพิเศษ มาจากคำเต็มว่า “เด็กที่มีความต้องการพิเศษ” หมายถึงเด็กกลุ่มที่จำเป็นต้องได้รับการดูแล ช่วยเหลือเป็นพิเศษ เพิ่มเติมจากวิธีการตามปกติ ทั้งในด้าน การใช้ชีวิตประจำวัน การเรียนรู้ และการเข้าสังคม เพื่อให้เด็กได้รับการพัฒนาเต็มตามศักยภาพของเขาเอง โดยออกแบบการดูแล ช่วยเหลือเด็ก ตามลักษณะความจำเป็น และความต้องการของเด็กแต่ละคน เด็กพิเศษ แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มหลัก ดังนี้
1. เด็กที่มีความสามารถพิเศษ แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มย่อยคือ
เด็กที่มีระดับสติปัญญาสูง คือ กลุ่มเด็กที่มี ระดับสติปัญญา (IQ)ตั้งแต่ 130 ขึ้นไป
เด็กที่มีความสามารถพิเศษเฉพาะด้าน อาจไม่ใช่เด็กที่มีระดับสตปัญญาสูง แต่มีความสามารถพิเศษเฉพาะด้านที่โดดเด่นกว่าคนอื่นในวัยเดียวกัน อาจเป็นด้าน คณิตศาสตร์ - ตรรกศาสตร์ การใช้ภาษา ศิลปะ ดนตรี กีฬา การแสดง ฯลฯ
เด็กที่มีความคิดสร้างสรรค์
2. เด็กที่มีความบกพร่อง
มีการแบ่งหลายแบบ ในที่นี้จะยึดตามแนวทางของกระทรวงศึกษาธิการ ที่แบ่งออกเป็น 9 กลุ่ม ดังนี้
เด็กที่มีความบกพร่องทางการมองเห็น
เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน
เด็กที่มีความบกพร่องทางการสื่อสาร
เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกาย และการเคลื่อนไหว
เด็กที่มีความบกพร่องทางอารมณ์ และพฤติกรรม
เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา (Intellectual Deficiency)
เด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ (Learning Disabilities)
เด็กออทิสติก (รวมถึงความบกพร่องของพัฒนาการแบบรอบด้านอื่นๆ - PDDs)
เด็กที่มีความพิการซ้อน
3.เด็กยากจนและด้อยโอกาส ”

ทฤษฎีการเรียนรู้


ทฤษฎีทางการศึกษา

>>> ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิคของพาฟลอฟ (Pavlov)

ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค (Classical Conditioning) ผู้ที่ทำการศึกษาทดลองในเรื่องนี้คือ พาฟลอฟ (Pavlov) ทำการศึกษาทดลองกับสุนัข โดยฝึกสุนัขให้ยืนนิ่งอยู่ในที่ตรึงในห้องทดลอง ที่ข้างแก้มของสุนัขติดเครื่องมือวัดระดับการไหลของน้ำลาย การทดลองแบ่งออกเป็น 3 ขั้น คือ ก่อนการวางเงื่อนไข ระหว่างการวางเงื่อนไข และหลังการวางเงื่อนไข ขั้นที่ 1 เสียงกระดิ่ง (CS) ไม่มีน้ำลาย ผงเนื้อ (UCS) น้ำลายไหล (UCR) ขั้นที่ 2 เสียงกระดิ่ง น้ำลายไหล (UCR) และผงเนื้อ (UCS) ทำขั้นที่ 2 ซ้ำกันหลาย ๆ ครั้ง ขั้นที่ 3 เสียงกระดิ่ง (CS) น้ำลายไหล (CR) การเรียนรู้แบบวางเงื่อนไขแบบคลาสสิคคือการตอบสนองที่เป็นไปโดยอัตโนมัติเมื่อนำสิ่งเร้าใหม่มาควบคู่กับสิ่งเร้าเดิม ซึ่งนักจิตวิทยาเรียกพฤติกรรมการตอบสนองนี้ว่าพฤติกรรมเรสปอนเด้นท์
1. คำศัพท์ที่สำคัญในการศึกษาทดลองของพาฟลอฟ สิ่งเร้าที่เป็นกลาง (Neutral Stimulus) คือสิ่งเร้าที่ไม่ก่อให้เกิดการตอบสนอง ซึ่งในที่นี้ก็คือ เสียงกระดิ่งในขั้นที่ 1 สิ่งเร้าที่ไม่ได้วางเงื่อนไข (Unconditioned Stimulus หรือ US) คือสิ่งเร้าที่ก่อให้เกิดการตอบสนองได้ตามธรรมชาติ ซึ่งในที่นี้ก็คือ อาหาร สิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข (Conditioned Stimulus หรือ CS) คือสิ่งเร้าที่ทำให้เกิดการตอบสนองได้หลังจากถูกวางเงื่อน ไขแล้ว ซึ่งในที่นี้ก็คือ เสียงกระดิ่ง การตอบสนองที่ไม่ได้ถูกวางเงื่อนไข (Unconditional Response หรือ UCR) คือการตอบสนองที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ การตอบสนองที่ถูกวางเงื่อนไข (Conditional Response หรือ CR) คือการตอบสนองอันเป็นผลมาจากการเรียนรู้ที่ถูกวางเงื่อนไขแล้ว2. กระบวนการสำคัญอันเกิดจากการเรียนรู้ของพาฟลอฟกระบวนการที่สำคัญ 3 ประการ อันเป็นผลจากการเรียนรู้แบบวางเงื่อนไข คือ การแผ่ขยาย คือความสามารถของอินทรีย์ที่จะตอบสนองในลักษณะเดิมต่อสิ่งเร้าที่มีความคล้ายคลึงกันได้ การจำแนก คือ ความสามารถของอินทรีย์ในการที่จะจำแนกความแตกต่างของสิ่งเร้าได้ การลบพฤติกรรมชั่วคราว คือ การที่พฤติกรรม การตอบสนองลดน้อยลงอันเป็นผลเนื่องจากการที่ไม่ได้รับสิ่งเร้าที่ไม่ได้ถูกวางเงื่อนไข ซึ่งในที่นี้ก็คือรางวัลหรือสิ่งที่ต้องการนั่นเอง การฟื้นตัวของการตอบสนองที่วางเงื่อนไข หลังจากเกิดการลบพฤติกรรมชั่วคราวแล้ว สักระยะหนึ่งพฤติกรรมที่ถูกลบเงื่อนไขแล้วอาจฟื้นตัวเกิดขึ้นมาอีกได้รับการกระตุ้นโดยสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข