วันพุธที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2550

ทฤษฎีการเสริมแรง


สนองที่ต้องการ เช่น คะแนนดี เสริมแรงให้นักศึกษาขยันเรียนมากขึ้น คำชมทำให้เด็กพูดจาไพเราะขึ้น เป็นต้นตัวเสริมแรงมี 2 ประเภทคือ
1. ตัวเสริมแรงปฐมภูมิ ( A primary reinforcer ) ส่วนใหญ่จะเป็นสิ่งที่ตอบสนองต่อการทำงานและความต้องการทางด้านร่างกายโดยพื้นฐาน เช่น อาหารสำหรับคนกำลังหิว ความอบอุ่นสำหรับคนที่กำลังหนาว เป็นต้น
2. ตัวเสริมแรงระดับทุติยภูมิ ( A secondary reinforcer ) จะเป็นตัวเสริมแรงที่เกิดจากการที่ไปเชื่อมโยงกับตัวเสริมแรงปฐมภูมิทำให้สิ่งนั้นสามารถสนองความต้องการต่าง ๆ ของคนเราได้เช่นเดียวกันกับตัวเสริมแรงปฐมภูมิ ตัวเสริมแรงทุติยภูมิ เช่น เงินซึ่งมีค่าเพราะสามารถนำไปใช้แลกเปลี่ยนกับสิ่งต่างๆ ที่สามารถนำมาสนองความต้องการของคนเราได้อย่างมากมาย การเสริมแรง (Reinforcement)
การเสริมแรงเป็นสภาวะการณ์ที่มีการให้ตัวเสริมแรงในการกระทำพฤติกรรมของอินทรีย์ โดยการ เสริมแรงจะแบ่งออกตามลักษณะของการวางเงื่อนไขได้เป็น 2 ประเภท คือ
1. การเสริมแรงทางบวก (Positive Reinforcement) เป็นการให้สิ่งที่จะช่วยเพิ่มแนวโน้มของการตอบสนอง และมักจะเป็นการให้สิ่งดีๆ เช่น ของขวัญ เงิน อาหาร เป็นต้น
2. การเสริมแรงทางลบ (Negative Reinforcement) เป็นการนำสิ่งที่ไม่พอใจ ไม่ชอบออกไปหรือเป็นการปรับสภาวะจากลบ (Negative) ไปเป็นกลาง ( Neutral ) แล้วเพิ่มแนวโน้มของการตอบสนองที่ต้องการ (Carver and Scheier ,1996:341) เช่น นำความร้อนออกไปโดยการติดเครื่องปรับอากาศในฤดูร้อน ทำให้พนักงานพอใจกับสภาพแวดล้อมการทำงานมากขึ้น เป็นต้น การลงโทษ
การลงโทษ (Punishment) เป็นการให้สิ่งที่ไม่พอใจ หรือเป็นการเปลี่ยนสภาพปกติ (Neutral ) ให้เป็นสภาวะที่เป็นลบ (Negative) เช่น การดุด่า การตี เป็นต้น หรืออีกลักษณะจะเป็นการนำสิ่งที่ชอบ (positive) ออกไปหรือทำให้กลับคืนสู่ปกติ (Neutral) เช่น การงดให้โบนัส การงดให้รางวัล เป็นต้น การลงโทษอาจช่วยระงับยับยั้งพฤติกรรมที่เป็นไปทางลบได้ในระยะสั้นๆ เช่น การดุด่าเด็กเมื่อเด็กเล่นรุนแรง ทำให้เด็กเลิกเล่นรุนแรงไปได้ชั่วครู่ แล้วไม่นานนักเด็กก็จะกลับมาเล่นรุนแรงอีก นอกจากนี้การลงโทษยังก่อให้เกิดความรู้สึกทางลบให้แก่เด็ก ซึ่งจะสะสมและอาจแสดงออกมาเป็นพฤติกรรมทางลบในลักษณะต่างๆ ได้ เช่น เด็กที่ถูกพ่อแม่ลงโทษด้วยการตีบ่อยๆ อาจจะไปแสดงความก้าวร้าวกับเพื่อนหรือชอบรังแกสัตว์อย่างนี้ เป็นต้น ดังนั้นในการปรับพฤติกรรมของเด็กจึงไม่ควรใช้การลงโทษแต่ควรนำการเสริมแรงมาใช้ซึ่งจะให้ผลดีกว่า การให้สิ่งเสริมแรง
การให้สิ่งเสริมแรงจะทำให้มีประสิทธิภาพสูงสุดในการปรับพฤติกรรมต่อเมื่อมีการกระทำได้อย่างเหมาะสม โดยหลักการให้สิ่งเสริมแรงมีดังต่อไปนี้
1. ในระยะแรกๆที่มุ่งให้อินทรีย์เกิดการเรียนรู้ ควรให้สิ่งเสริมแรงแก่อินทรีย์ทุกครั้งเมื่ออินทรีย์กระทำพฤติกรรมที่ต้องการ เช่น ถ้าเริ่มสอนให้เด็กรู้จักการไหว้ผู้ใหญ่เราควรให้รางวัลเด็กทุกครั้งในระยะแรกที่เขาไหว้ผู้ใหญ่ จนกว่าเด็กจะเกิดการเรียนรู้ว่าเขาควรจะไหว้ใครบ้างและต้องไหว้อย่างไร เราจึงอาจเปลี่ยนการให้รางวัลเป็นแบบไม่ทุกครั้งหรือในรูปแบบอื่นๆได้
2. การให้สิ่งเสริมแรงต้องให้ทันทีที่อินทรีย์กระทำพฤติกรรมที่ต้องการ อย่าทิ้งให้เวลาเนิ่นนานเกิน ไปกว่าจะให้รางวัล เพราะอินทรีย์จะไม่สามารถเชื่อมโยงระหว่างพฤติกรรมที่แสดงออกกับรางวัลที่ได้รับและอินทรีย์จะไม่เกิดการเรียนรู้
3. การให้สิ่งเสริมแรงต้องพิจารณาแล้วว่า สิ่งนั้นเป็นที่ปรารถนาของอินทรีย์ สิ่งนั้นจึงทำหน้าที่เป็นตัวเสริมแรงอย่างได้ผล ในกรณีนี้ถ้าเป็นการให้การเสริมแรงแก่คน ให้พิจารณาด้วยว่าคนๆ นั้นชอบอะไรซึ่งความชอบของแต่ละบุคคลอาจมีแตกต่างกันไป เช่น บางคนอาจต้องการเงินเป็นรางวัล แต่บางคนมีเงินมากมายแล้วอาจต้องการชื่อเสียงหรือการได้รับการยกย่องเป็นรางวัลมากกว่า เป็นต้น
4. หลังจากอินทรีย์เกิดการเรียนรู้แล้ว การให้สิ่งเสริมแรงเพื่อให้พฤติกรรมนั้นมีอยู่สม่ำเสมอและอยู่นานที่สุดควรเป็นการให้สิ่งเสริมแรงไม่ทุกครั้งหรือเว้นระยะแบบจำนวนการตอบสนองไม่คงที่ (Variable ratio) หรือแบบช่วงเวลาไม่แน่นอน (Variable interval)มากกว่าแบบจำนวนการตอบสนองคงที่ (Fixed ratio) หรือแบบช่วงเวลาแน่นอน ( Fixed interval ) ซึ่งแบบต่างๆ ของการเสริมแรงเว้นระยะนี้มีอยู่ 2 แบบใหญ่ๆ ดังนี้แบบที่ 1 เป็นการให้สิ่งเสริมแรงตามจำนวนครั้งที่ตอบสนอง เรียกว่า "a ratio schedule" ซึ่งแบ่งออกไปอีก 2 แบบย่อย คือ
Fixed Ratio อินทรีย์จะได้สิ่งเสริมแรงตามจำนวนการตอบสนองที่ได้กำหนดไว้แล้วแน่นอน เช่น ได้รับรางวัลทุกๆการตอบสนองครั้งที่5 เป็นต้น ในการให้ตัวเสริมแรงแบบนี้พบว่าอินทรีย์มี การตอบสนองในอัตราสูงมากในระยะแรกๆ โดยจะมีการหยุดพักช่วงเป็นระยะเวลาสั้นๆ หลังจาก ได้รับสิ่งเสริมแรง และอัตราการตอบสนองจะลดลงในเวลาอันรวดเร็ว
Variable ratio มีลักษณะคล้ายกับแบบที่ 1.1 ตรงที่ใช้จำนวนการตอบสนองเป็นเกณฑ์แต่ต่าง กันตรงที่แบบที่ 1.2 จะไม่กำหนดจำนวนการตอบสนองไว้อย่างแน่นอนตามแบบที่ 1.1 แต่จะ เป็นการกำหนดจำนวนการตอบสนองที่เปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ เช่น บางครั้งอินทรีย์จะได้รับ รางวัลเมื่อตอบสนองครบ 10 ครั้ง บางครั้งการตอบสนองเพียง 7 ครั้งก็ได้รางวัล หรือบางครั้งอินทรีย์ ต้องตอบสนองถึง 12 ครั้งถึงจะได้รับรางวัลอย่างนี้เป็นต้น สำหรับแบบที่ 2 จะทำให้อินทรีย์มี อัตราการตอบสนองสูงที่สุดและนานที่สุด เช่น เราอาจจะเห็นได้จากการเล่นการพนันซึ่งช่วงเวลาของ การได้รับชัยชนะหรือรางวัลนั้นจะไม่แน่นอนแต่ก็มีอยู่ในลักษณะที่ทำให้คนต้องเล่นต่อไปนานๆแบบที่ 2 เป็นการให้สิ่งเสริมแรงตามเวลาที่กำหนด เรียกว่า "an interval Schedule" ซึ่งจะกำหนด ให้ช้าหรือเร็วก็ได้ แบ่งออกเป็น 2 แบบย่อย คือ
2.1 Fixed interval จะให้สิ่งเสริมแรงเมื่อถึงเวลาที่กำหนดไว้อย่างแน่นอน เช่น 2 นาทีให้อาหารหนึ่งเม็ดโดยไม่คำนึงว่าระหว่างช่วงเวลานี้หนูจะกดคานหรือไม่ วิธีการนี้จะทำให้การกดคานของหนูหลังการได้รับสิ่งเสริมแรงนั้นลดลงอย่างมากหรือบางทีก็ไม่มีการตอบสนองเลย แต่การตอบสนองจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เมื่อใกล้ถึงเวลาที่จะได้รางวัลในช่วงต่อไป ทั้งนี้เพราะหนูเรียนรู้การจำแนกเวลาการให้รางวัลได้นั่นเอง การให้รางวัลลักษณะนี้ในพฤติกรรมของมนุษย์เราสามารถพบเห็นได้ทั่วไป เช่น ข้าราชการบางคนพอถึงใกล้ช่วงการพิจารณาความดีความชอบก็จะแสดงพฤติกรรมการทำงานเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด แต่หลังจากได้ผ่านการพิจารณาความดีความชอบแล้วก็กลับมาใช้พฤติกรรมทำงานเรื่อยๆ เฉื่อยๆแบบเดิม เป็นต้น
2.2 Variable interval มีลักษณะคล้ายแบบ Fixed interval เพียงแต่ต่างกันตรงที่ระยะเวลาที่จะได้รับรางวัลของแบบนี้เป็นไปอย่างไม่แน่นอน ตัวอย่างเช่น ครั้งแรกให้เมื่อถึงวินาทีที่ 45 ครั้งที่สองให้เมื่อถึงวินาทีที่ 90 ครั้งที่สามให้เมื่อถึงวินาทีที่ 150 ฯลฯ อย่างนี้เป็นต้น การตอบสนองต่อการเสริมแรงวิธีการนี้จะมีไม่สูงนัก แต่สม่ำเสมอและจะเพิ่มขึ้นถ้าอัตราการให้สิ่งเสริมแรงมีถี่ขึ้น ลักษณะการให้สิ่งเสริมแรงแบบนี้ในชีวิตประจำวัน เช่น การหมุนโทรศัพท์ขณะชั่วโมงธุรกิจ ซึ่งบางครั้งก็ไม่สามารถติดต่อได้ บางครั้งก็ติดต่อได้ไม่มีช่วงเวลาที่แน่นอน ในการนี้สิ่งเสริมแรง คือ การหมุนโทรศัพท์แล้วติดต่อได้นั่นเอง

ภาพที่ 44 แสดงความถี่และความยาวนานของการแสดงพฤติกรรมที่ต้องการในการเสริมแรงแบบต่างๆจะ เห็นว่า แบบ Variable ratio จะมีการตอบสนองที่มีความถี่สูงสุดและแบบ Variable interval จะทำ ให้อินทรีย์แสดงพฤติกรรมตอบสนองยาวนานมากที่สุด (ที่มา : Carver and Scheier,1996:345 )
จากทั้งหมดจะเห็นได้ว่า การให้สิ่งเสริมแรงในรูปแบบที่แตกต่างกันจะนำไปสู่แนวโน้มการกระทำพฤติกรรมที่ต่างกันด้วย โดยการเสริมแรงแบบไม่สม่ำเสมอและทำนายไม่ได้ให้ผลต่อการเปลี่ยนพฤติกรรมมากกว่าแบบสม่ำเสมอและทำนายได้

1 ความคิดเห็น:

SoRgHuM กล่าวว่า...

ขอบคุณสำหรับเนื้อหาในblogค่ะ